กรมสุขภาพจิต หรือ หน่วยงานส่วนกลางกรมสุขภาพจิต และศูนย์สุขภาพจิตที่ 1-13 และโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต (ต่อไปนี้จะเรียกรวมว่า “กรมสุขภาพจิต”) ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้จัดทำนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) ขึ้นโดยนโยบายนี้ได้อธิบายถึงวิธีการที่กรมสุขภาพจิตปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การเก็บรวบรวม การจัดเก็บรักษา การใช้ การเปิดเผย รวมถึงสิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น เพื่อให้เจ้าของข้อมูลได้รับทราบถึงนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของกรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตจึงประกาศนโยบายฯ ดังต่อไปนี้
1. คำนิยาม
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
“ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลโดยแท้ของบุคคล แต่มีความละเอียดอ่อนและอาจสุ่มเสี่ยงในการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใด ซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
“คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น โดยมีหน้าที่และอำนาจกำกับดูแล ออกหลักเกณฑ์ มาตรการ หรือข้อปฏิบัติอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
กรมสุขภาพจิตจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยมี วัตถุประสงค์ ขอบเขต และใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โดยในการเก็บรวบรวมนั้นจะทำเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การดำเนินงาน ภายใต้วัตถุประสงค์ของกรมสุขภาพจิตเท่านั้น ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตจะดำเนินการให้เจ้าของข้อมูล รับรู้ ให้ความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือตามแบบวิธีการของกรมสุขภาพจิต กรณีที่กรมสุขภาพจิตจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวของเจ้าของข้อมูล กรมสุขภาพจิตจะขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลโดยชัดแจ้งก่อนทำการเก็บรวบรวม เว้นแต่การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจะเข้าข้อยกเว้นตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายอื่นกำหนดไว้
3. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
กรมสุขภาพจิตจะทำการเก็บรวบรวม หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของกรมสุขภาพจิต เช่น การประเมินและคัดกรองสุขภาพจิตเบื้องต้น การดำเนินกิจกรรมกรมสุขภาพจิต การติดต่อประสานงานต่าง ๆ หรือเพื่อปรับปรุงคุณภาพการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดทำฐานข้อมูล วิเคราะห์และพัฒนากระบวนการดำเนินงานของกรมสุขภาพจิต และเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และ/หรือเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานของกรมสุขภาพจิต โดยกรมสุขภาพจิตจะจัดเก็บและใช้ข้อมูลดังกล่าวตามระยะเวลาเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเจ้าของข้อมูลหรือตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น
กรมสุขภาพจิตจะไม่กระทำการใด ๆ แตกต่างจากที่ระบุในวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูล เว้นแต่
(1) ได้แจ้งวัตถุประสงค์ใหม่ให้แก่เจ้าของข้อมูลทราบ และได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล4. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
กรมสุขภาพจิตจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลไปให้บุคคลใดโดยปราศจากความยินยอม และจะเปิดเผยตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการแจ้งไว้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกรมสุขภาพจิตและการให้บริการแก่เจ้าของข้อมูล กรมสุขภาพจิตอาจมีความจำเป็นในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล ให้แก่หน่วยงานในสังดักรมสุขภาพจิต หรือบุคคลอื่นทั้งในและต่างประเทศ เช่น สถานพยาบาลผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่บุคคลดังกล่าว กรมสุขภาพจิตจะดำเนินการให้บุคคลเหล่านั้นเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นความลับ และไม่นำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากขอบเขตที่กรมสุขภาพจิตได้กำหนดไว้
นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิตอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เช่น การเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงในกรณีที่มีการร้องขอให้เปิดเผยข้อมูลโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เช่น การร้องขอข้อมูลเพื่อการฟ้องร้องหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย หรือการร้องขอจากหน่วยงานเอกชน หรือบุคคลภายนอกอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมาย
5. แนวทางในการดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กรมสุขภาพจิตจะกำหนดมาตรการต่าง ๆ รวมถึงมาตรการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่เจ้าหน้าที่สังกัดของกรมสุขภาพจิตและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้และตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวม การจัดเก็บรักษา การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล โดยเจ้าหน้าที่สังกัดของกรมสุขภาพจิตต้องปฏิบัติตามนโยบายฯ และแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กรมสุขภาพจิตกำหนดไว้ เพื่อให้กรมสุขภาพจิตสามารถปฏิบัติตามนโยบายและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
6. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 6.1 สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ความยินยอมไว้ ทั้งนี้ การเพิกถอนความยินยอมย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ความยินยอมไว้แล้วเจ้าของข้อมูลสามารถขอใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นได้ โดยยื่นคำร้องขอใช้สิทธิต่อกรมสุขภาพจิตเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบฟอร์มที่กรมสุขภาพจิตกำหนด ผ่าน “ช่องทางการติดต่อของกรมสุขภาพจิต” ด้านล่าง โดยกรมสุขภาพจิตจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามคำร้องฯ ของเจ้าของข้อมูล ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตอาจปฏิเสธสิทธิของเจ้าของข้อมูลได้ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดไว้
7. การทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กรมสุขภาพจิตอาจทำการปรับปรุงหรือแก้ไขนโยบายนี้เป็นครั้งคราวเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของกรมสุขภาพจิต รวมถึงข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยกรมสุขภาพจิตจะประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงให้ทราบอย่างชัดเจน ก่อนจะเริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลง
8. ช่องทางการติดต่อ
8.1 กรมสุขภาพจิต เลขที่ 88/20 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้กรมสุขภาพจิต เก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าที่มีอยู่กับโปรแกรม Mental Health Check in ซึ่งต่อไปนี้ในหนังสือให้ความยินยอมฉบับนี้เรียกว่า “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ต่อกระบวนการประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นและคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต และติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิต ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2. “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ สกุล เพศ อายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลอาชีพ ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลปัจจัยเสี่ยง ข้อมูลภาวะสุขภาพ
3 . กรมสุขภาพจิตผู้ให้บริการ รวบรวม จัดเก็บ ใช้ ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น ได้แก่ ประเมินพลังใจ ประเมินภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ ประเมินภาวะความเครียด ประเมินภาวะซึมเศร้า ประเมินความเสี่งต่อการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นการประเมินที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูล พัฒนาระบบการดำเนินงานสุขภาพจิต และติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิต หากภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ให้บริการ จะประกาศให้ผู้ใช้บริการทราบ
4. ผู้ใช้บริการมีสิทธิถอนความยินยอมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่การถอนความยินยอมนั้นจะกระทบต่อการให้บริการหรืออยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ให้บริการ
5. การตกลงให้เก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนี้มีผลใช้บังคับตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
6. สิทธิของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการเพิกถอน การขอเข้าถึงและรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล การคัดค้านการเก็บข้อมูล ใช้หรือเปิดเผย สิทธิในการเคลื่อนย้ายข้อมูล สิทธิในการลบข้อมูล สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูล ให้เป็นไปตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเราและตามที่กฎหมายกาหนด
7. ผู้ใช้บริการรับทราบว่า ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อผู้ให้บริการ ผ่านช่องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: checkindmh@gmail.com